Thailand’s MICE
Startup 2020

วิสาหกิจเริ่มต้น (Startups) และบริษัทผู้ผลิตนวัตกรรมและเทคโนโลยี (Tech entrepreneurs) สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมได้แล้ววันนี้

Thailand’s MICE
Startup 2020

ลงทะเบียนเข้าร่วมได้แล้ววันนี้

ข้อมูลโครงการ

สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ สสปน. ได้เล็งเห็นถึงโอกาสในการสร้างพันธมิตรใหม่ที่มีความแข็งแกร่ง และขยายการรับรู้เกี่ยวกับธุรกิจไมซ์ไปสู่กลุ่มวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) หรือกลุ่มธุรกิจอื่น ๆ ที่ใช้ไมซ์เป็นแพลทฟอร์มนำไปสู่การพัฒนาวงจรของธุรกิจไมซ์ให้เป็นที่รับรู้ในวงกว้างและเข้มแข็งอีกทั้งมีช่องทางสร้างธุรกิจใหม่ ๆ แลกเปลี่ยนความรู้ต่อยอดการจัดงานให้ดียิ่งขึ้นทำให้ สามารถแข่งขันกับนานาชาติด้านไมซ์ได้อย่างยั่งยืน

สสปน. จึงได้ริเริ่มโครงการ Thailand’s MICE Startup ตั้งแต่ปี 2561 โดยได้รับความร่วมมือจากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ DEPA สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ NSTDA และหน่วยงานพันธมิตรอื่น ๆ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีในการพัฒนาธุรกิจ นำไปสู่การแบ่งปันความรู้ความเข้าใจในธุรกิจไมซ์กับเครือข่ายนวัตกรรมทั้งภาครัฐและเอกชน

โดยในปี 2563 จะเป็นการผลักดันและส่งเสริม Ecosystem ของวิสาหกิจเริ่มต้น (Startups) และบริษัทผู้ผลิตนวัตกรรมและเทคโนโลยี (Tech entrepreneurs) ให้สามารถเข้ามาช่วยแก้ปัญหาในช่วงวิกฤตไวรัสโคโรนา 2019 ด้วยการดึงผู้ที่มี solution มาพบกับผู้ที่มี Pain Point ผ่านโครงการ Thailand’s MICE Startup เพื่อผลักดันนวัตกรรมไปสู่การแก้ไขให้สามารถนำไปใช้งานได้จริงสำหรับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมไมซ์ เพิ่มมูลค่าผลผลิตทางเศรษฐกิจและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย
เพื่อผลักดันนวัตกรรมไปสู่การแก้ไข และสามารถนำไปใช้งานได้จริงสำหรับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมไมซ์
เพื่อสร้างภาพลักษณ์ของ สสปน. ในเชิงรุก (proactive) ต่อเรื่องของนวัตกรรมในภาวะวิกฤต
เพื่อสร้างเครือข่ายความเชื่อมโยงและการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐ เอกชน และวิสาหกิจเริ่มต้นในการยกระดับนวัตกรรมของอุตสาหกรรมไมซ์อย่างยั่งยืน
เพื่อสร้างระบบ ecosystem และยกระดับนวัตกรรมของอุตสาหกรรมไมซ์ในประเทศไทยให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันให้ทัดเทียมกับนานาประเทศ

ตารางกิจกรรม

7 สิงหาคม 2563

Design Thinking Workshop

Renaissance Bangkok Ratchaprasong Hotel
9.00 – 17.00
กิจกรรม Workshop สำหรับผู้ประกอบการใน MICE Industry
เพื่อหา Problem statement (โจทย์) เพื่อนำไปเป็นโจทย์ในโครงการนี้

2 กันยายน 2563

Thailand MICE United

Royal Paragon Hall
09.00 – 18.00
นำ Startup  และผู้ประกอบการที่สมัครเข้าร่วมโครงการผ่าน Innovation Dating Platform มาทำกิจกรรม Physical Dating และออกบู๊ธโชว์ผลงานปัจจุบัน

30 กันยายน 2563

Open Innovation Challenge Pitching

22nd Fl, Gaysorn Tower
13.30 – 17.00
เพื่อเฟ้นหา Startup จำนวน 3-5 ทีมเพื่อเข้าร่วม Incubation Program กับ RISE
22nd Fl, Gaysorn Tower
18.30 – 21.00

Networking Event

8,15,22,29 ตุลาคม 2563

Incubation Program

22nd Fl, Gaysorn Tower or via Online
9.00 – 16.00

โครงการ “บ่มเพาะ” โดยธุรกิจที่ให้คำปรึกษาและคำแนะนำแก่ Startup ตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นไอเดียให้เกิดรูปแบบธุรกิจที่มีประสิทธิภาพและสามารถนำไปใช้งานได้จริง

12 พฤศจิกายน 2563

Demo Day

22nd Fl, Gaysorn Tower or via Online
13.30 – 16.30

Pitching เพื่อหาผู้ชนะ 3 ทีมเพื่อได้เงินรางวัลรวมทั้งสิ้น 750,000 บาท

ผู้บรรยาย

คุณสุเมธ สุทัศน์ ณ อยุธยา

กรรมการผู้จัดการ บริษัท คอนเฟอเรนซ์ แอนด์ เดสทิเนชั่น เมนเนจเม้นท์

คุณสุเมธ สุทัศน์ ณ อยุธยา

กรรมการผู้จัดการ บริษัท คอนเฟอเรนซ์ แอนด์ เดสทิเนชั่น เมนเนจเม้นท์

คุณสุเมธ สุทัศน์ ณ อยุธยา

กรรมการผู้จัดการ บริษัท คอนเฟอเรนซ์ แอนด์ เดสทิเนชั่น เมนเนจเม้นท์

รางวัลและสิ่งที่ผู้เข้าร่วมจะได้

รางวัลชนะเลิศ

400,000 บาท

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1

200,000 บาท

รางวัลชนะเลิศ

100,000 บาท
สำหรับทุกท่านที่ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการและได้รับ Email คอนเฟิร์มเรียบร้อยแล้ว 
1. ถ้าท่านเป็น Startup / Tech Entrepreneurs
จะถูกบันทึกรายนามลงใน MICE Innovation Catalogue ซึ่งจะได้มีรูปแบบสิทธิประโยชน์คือ 
1.1 ได้รับการโปรโมท solution ของบริษัทฯ ซึ่งจะเพิ่มโอกาสในการจับคู่ธุรกิจกับผู้ประกอบการไมซ์ที่มองหา technology เพื่อมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพหรือยกระดับธุรกิจ อาทิ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้า โรงแรม ผู้จัดงาน ผู้ให้บริการด้านโลจิสติกและอื่นๆ
1.2 เพิ่มโอกาสในการให้บริการแก่ผู้ประกอบการไมซ์ที่มี MICE Inno Voucher มูลค่าสูงสุด 200,000 บาท เฉพาะผู้จัดงานแสดงสินค้าและMega Event ที่ได้รับการสนับสนุนจากสสปน
2. และถ้าท่านเป็นผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมไมซ์ (MICE)
2.1 ได้ร่วมพัฒนาโซลูชั่น จาก Startup / Tech Entrepreneurs ที่ได้ matching ผ่านเข้า Incubator Program ร่วมกัน
2.2 ได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายอุตสาหกรรมการแสดงสินค้านานาชาติ (Exhibition) Exhibition new norm ภายใต้หลักเกณฑ์การสนับสนุน Exhibition support program และฝ่ายพัฒนาการจัดงานเมกะอีเวนท์และเทศกาลนานาชาติ (Mega Event) ได้รับสิทธิ์ในการเลือกใช้นวัตกรรมมูลค่าสูงสุด 200,000 บาท จาก “MICE Innovation Voucher” (เริ่มใช้ได้ ตุลาคม 2563 เป็นต้นไป)
3. หากท่านเป็นผู้เข้าร่วม Incubator Program และท่านชนะการแข่งขันในกิจกรรม Demo Day Pitching รางวันที่ 1 – 3 ท่านจะได้ Solution ที่สามารถนำไปใช้ในธุรกิจ
ทุกทีมที่ได้รับคัดเลือกเข้าโครงการ Incubation Program กับ RISE จะได้รับทุนในการพัฒนา Solution จำนวน 30,000 บาท
เงินรางวัลสำหรับผู้ชนะการหลังจากการแข่งขันในกิจกรรม Demo Day Pitching
  • รางวัลชนะเลิศ ได้รับเงินรางวัล 400,000 บาท
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้รับเงินรางวัล 200,000 บาท
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้รับเงินรางวัล 100,000 บาท
  • รางวัล Popular Vote ได้รับเงินรางวัล 50,000 บาท (ทีมที่ไม่ได้เข้าร่วม Incubation Program สามารถเข้านำเสนอโครงการเพื่อชิงรางวัล Popular Vote ได้)

คำถาม - คำตอบสำหรับโครงการ (FAQ)

ประกาศผลคู่ matching ระหว่าง Startup / Tech Entrepreneurs & ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรม MICE ที่ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมการคัดเลือกในโครงการ Thailand’s MICE startup เมื่อไร และ ที่ไหน ?
ประกาศผลคู่ matching ระหว่าง Startup / Tech Entrepreneurs & ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรม MICE ในวันอังคารที่ 22 กันยายน 2563 บนหน้าเว็บไซต์ https://www.thaimiceinnovation.com/
การเตรียมตัวเมื่อลงทะเบียนสมัครใน Dating Website เสร็จเรียบร้อยแล้วคืออะไร ?
จะมี Email ตอบรับการลงทะเบียน และ รอรับการติดต่อกลับไปจากทีมงาน ทั้งนี้สามาารถ ติดตามการประกาศผลการ matching ได้ ในวันอังคารที่ 22 กันยายน 2563 บนหน้าเว็บไซต์แห่งนี้ 
จากนั้นหากเป็นคู่ที่ได้รับคัดเลือก จะต้องเตรียมตัวเข้า Pitching ในงาน Open Innovation Challenge ในวันพุธที่ 30 กันยายน เพื่อเข้าสู่ Incubation Program ต่อไปตามตารางกิจกรรมด้านบน
Startup / Tech Entrepreneurs สามารถระบุเลยได้ไหมว่าต้องการ match กับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรม MICE บริษัทไหนบ้าง ?
ไม่สามารถระบุได้ว่าต้องการ matching กับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรม MICE บริษัทไหน แต่สามารถระบุ ประเภท หรือ ขอบเขตของผู้ประกอบการที่มองว่าน่าจะตรงกับ Solution ที่สมัครเข้ามาได้ใน ช่อง “โปรดบอกเราว่า Solution ของคุณสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบใดได้บ้าง” เพื่อเป็นข้อมูลให้ระบบ Web Dating นี้สามารถประเมินผลการ matching ให้ได้แม่นยำขึ้น ทั้งนี้หากมีความต้องการเพิ่มเติมสามารถแจ้งได้เมื่อได้รับการติดต่อกลับไปจากทางทีมงาน
ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรม MICE ที่มี Problem / Pain และลงทะเบียน สามารถระบุเลยได้ไหมว่าต้องการ matching กับ Startup / Tech Entrepreneurs บริษัทไหนบ้าง ?
ไม่สามารถระบุได้ว่าต้องการ match กับ Startup / Tech Entrepreneurs บริษัทไหน แต่สามารถระบุประเภท หรือขอบเขตของ Startup / Tech Entrepreneurs ที่มองว่าน่าจะตรงกับ Pain / Problem ที่สมัครเข้ามาได้ ในช่อง “โปรดบอกเราว่า Pain / Problem ของคุณสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบใดได้บ้าง” เพื่อเป็นข้อมูลให้ระบบ Web Dating นี้สามารถประเมินผลการ matching ให้ได้แม่นยำขึ้น ทั้งนี้หากมีความต้องการเพิ่มเติมสามารถแจ้งได้เมื่อได้รับการติดต่อกลับไปจากทางทีมงาน
สิทธิประโยชน์ที่จะได้หากคุณลงทะเบียน ผ่าน Dating Website นี้ เสร็จเรียบร้อยและได้ Email คอนเฟิร์มการลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว คืออะไร ?
ถ้าคุณเป็น Startup / Tech Entrepreneurs จะถูกบันทึกรายนามลงใน MICE Innovation Catalogue ซึ่งจะได้มีรูปแบบสิทธิประโยชน์คือ
1. ได้รับการโปรโมท solution ของบริษัทฯ ซึ่งจะเพิ่มโอกาสในการจับคู่ธุรกิจกับผู้ประกอบการไมซ์ที่มองหา technology เพื่อมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพหรือยกระดับธุรกิจ อาทิ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้า โรงแรม ผู้จัดงาน ผู้ให้บริการด้านโลจิสติกและอื่นๆ
2. เพิ่มโอกาสในการให้บริการแก่ผู้ประกอบการไมซ์ที่มี MICE Inno Voucher มูลค่าสูงสุด 200,000 บาท เฉพาะผู้จัดงานแสดงสินค้าและMega Event ที่ได้รับการสนับสนุนจากสสปน

Problem statement

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาที่ส่งผลกระทบสถานการณ์ทั่วทั้งโลกในทุกวันนี้ ทำให้อุตสาหกรรม MICE ได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก ดังนั้น โครงการพัฒนาวิสาหกิจเริ่มต้นด้านนวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดงานไมซ์ (Thailand’s MICE Startup)ในปีนี้จึงต้องการผลักดันและส่งเสริม Ecosystem ของวิสาหกิจเริ่มต้น (Startups) และบริษัทผู้ผลิตนวัตกรรมและเทคโนโลยี (Tech entrepreneurs) ให้สามารถสร้าง Solution และนำไปสู่การใช้งานได้จริงให้แก่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมไมซ์เพื่อเป็นการยกระดับนวัตกรรมของอุตสาหกรรมไมซ์อย่างยั่งยืน โดยที่ Problem Statement ด้านล่างนี้ มาจาก Pain point ที่เกิดขึ้นจริงจากผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมไมซ์

1. โซลูชั่นที่ช่วยให้ผู้เข้าร่วมประชุมทุกคนได้รับความสะดวกสบายและใช้เวลาน้อยที่สุดในการเข้าถึงและจัดการข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการเข้าร่วมประชุม

ในการเข้าร่วมประชุม/สัมมนาต่างๆ มี Stakeholder ที่เกี่ยวข้องหลายฝ่ายซึ่งเป็นทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ทุกคนมีความจำเป็นที่จะต้องเตรียมตัวก่อนเข้าร่วมประชุม/สัมมนาและมีข้อมูลที่ควรรู้ (เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับการประชุม เอกสารการเดินทางหรือการเข้าร่วมงาน ข้อมูลผู้ร่วมประชุม เป็นต้น) แต่มักมีพบปัญหาการเข้าถึงข้อมูล หรืออินเตอร์เนต

2. โซลูชั่นที่สามารถสร้างความมั่นใจให้ผู้เข้าร่วมงานประชุมนานาชาติ ในเรื่องสุขอนามัย รวมถึงมาตการบังคับใช้ทางกฎหมายและข้อแนะนำด้านความปลอดภัยและสาธารณสุข

สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโรค Covid-19 ทำให้มีนโยบายและการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตและพฤติกรรมของ stakeholder ที่เกี่ยวข้องกับการจัดงานประชุมนานาชาติ เช่น มาตรการรักษาความสะอาดในที่ชุมนุม การจำกัดคนเข้าร่วมงาน การจัดพื้นที่โดยเว้นระยะห่างอย่างเหมาะสม เป็นต้น การจัดงานประชุมนานาชาติปรับเปลี่ยน และดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรฐาน และสอดคล้องกับวิถีแบบ new normal

3. โซลูชั่นที่ช่วยให้ผู้ที่ต้องการจัดงานประชุมนานาชาติ สามารถเตรียมงานและบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านงบประมาณและระยะเวลา

การเป็นเจ้าภาพ หรือการเป็นผู้ดำเนินการจัดงานประชุมนานาชาติ ต้องมีการวางแผน การเตรียมงาน การประสานงานกับผู้เกี่ยวข้องต่างๆ เพื่อดำเนินการจัดงานให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายของงาน ดังนั้น การวางแผนและดำเนินงานในทุกช่วง (ตั้งแต่ก่อนจัดงาน ระหว่างจัดงาน ไปจนถึงหลังจัดงาน) จะต้องจัดการอย่างมีประสิทธิภาพทั้งในภาพรวมและรายละเอียดส่วนต่างๆ เช่น บริหารระยะเวลาและทรัพยากรในการจัดงาน ลดขั้นตอนการทำงานที่ทับซ้อน เป็นต้น ตลอดจนจัดงานให้สอดคล้องกับเป้าหมายของงานและความต้องการของผู้เข้าร่วมงาน

4. โซลูชั่นที่ช่วยให้ผู้เข้าร่วมการจัดแสดงสินค้านานาชาติสามารถจัดการเรื่องสัมภาระ การขนส่งอุปกรณ์ และการเดินทางมาร่วมงานได้อย่างสะดวก ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ

การจัดแสดงสินค้านานาชาติ มี stakeholder หลายฝ่ายที่เข้าร่วมงาน/จัดงาน ซึ่งส่วนใหญ่จะมีสัมภาระติดตัว หรืออุปกรณ์-เครื่องมือที่ใช้เตรียมงานและจัดแสดงภายในงาน ทำให้ stakeholder ไม่สะดวกในการพบปะติดต่อกับผู้อื่น (Business networking & Exhibiting) และมีความกังวลเกี่ยวกับสัมภาระและอุปกรณ์ที่นำมาใช้ภายในงาน

5. โซลูชั่นที่ช่วยให้ผู้จัดงานรายย่อย หรือผู้ที่ต้องการจัดการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล สามารถวางแผนงาน งบประมาณ และแผนประชาสัมพันธ์ รวมถึงติดต่อประสานงานกับบุคคลต่างๆ โดยไม่ต้องกังวลถึงข้อจำกัดด้านความรู้-ความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง และเครื่องมือ/ระบบการจัดการ

ประเทศไทยได้ส่งเสริมให้ผู้นำชุมชน และประชาชนในท้องถิ่นต่างๆ จัดงานกิจกรรมหรือพัฒนาพื้นที่ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะของท้องถิ่น ซึ่งผู้นำในชุมชนยังขาดความร่วมมือจากคนในพื้นที่ แม้บางครั้งจะได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ แต่ยังไม่มีความรู้ในการวางแผนและดำเนินการจัดงาน ไม่มีช่องทางประชาสัมพันธ์เพื่อดึงดูดผู้เยี่ยมชมหรือทำให้มีการจัดงานได้ต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังมีปัญหาด้านการสื่อสารภาษาต่างประเทศ หรือการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน

6. โซลูชั่นที่สามารถช่วยให้ผู้เข้าร่วม Mega Event ได้รับประสบการณ์ร่วมงานที่ดีทีสุด และกลับเข้ามาร่วมงานในครั้งต่อไป

ปัจจุบันการประชุม นิทรรศการเฉพาะกลุ่ม และ Mega Event ต่างๆ มีจำนวนมาก และจัดขึ้นในเมืองต่างๆ ทั่วโลก ตลอดทั้งปี กลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้เข้าร่วมงาน/ศิลปิน จึงมีตัวเลือกที่หลากหลาย ซึ่งผู้จัดงาน (รวมถึงเจ้าภาพงาน) จึงจำเป็นต้องแข่งขันในด้านความคิดสร้างสรรค์และการจัดงานที่มีคุณภาพ เพื่อนำเสนอหัวข้อและกิจกรรมที่น่าสนใจ รวมไปถึงประสบการณ์การร่วมงานที่น่าประทับใจให้กับผู้เข้าร่วมงาน/ศิลปิน

ผู้สนับสนุนโครงการ